10 เหตุผลห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าประเทศไทย

ขายบุหรี่ไฟฟ้า

ในปัจจุบันมีคนให้ความสนใจและหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่มวนธรรมดา เนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความสะดวกสบาย เป็นต้น ในหลายประเทศมีการอนุมัติอนุญาตให้มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าได้ แต่มีมาตรการควบคุมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าสำหรับเด็ก หรือเพื่อไม่ให้เกินขนาด แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว บุหรี่ไฟฟ้ายังไม่ถูกกฎหมาย 

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่าเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค.ของทุกปี ขณะนี้ทั่วโลกประสบปัญหาบริษัทบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าพยายามส่งเสริมการขายยาสูบชนิดใหม่ โดยเฉพาะในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง ส่งผลให้สหพันธ์ต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ ได้ออกคำแนะนำนโยบายในการควบคุมสถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ไฮบริดที่ไม่มีการเผาไหม้ คือ การห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าด้วยเหตุผล 10 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. จากการสังเกตและวิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ว่าบริษัทบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าหรือผู้ขายจะพุ่งเป้าการตลาดไปที่เยาวชนเป็นหลัก เนื่องจากสามารถโน้มน้าวได้ง่าย และเยาวชนเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ อยากเล่นอยากลองสิ่งต่างๆ อยู่เป็นประจำ ซึ่งการแนะนำให้ใช้บุหรี่ไม่ว่าจะชนิดใดก็ตามก็เป็นสิ่งที่ไม่เห็นจะสมควร
  2. เยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงพัฒนาไปสูบบุหรี่ธรรมดา เพราะความอยากรู้ อยากลองเป็นเหตุผลหลัก เมื่อได้ทราบแล้วว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นอย่างไร ก็อยากจะลองบุหรี่ธรรมดาที่มีความอันตรายทั้งต่อตัวผู้สูบและบุคคลรอบข้าง
  3. ถึงแม้ว่าจะมีหลายๆ คน หรือหลายๆ บทความที่บอกว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานหรือการวิจัยปรากฏชัดเจนว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาอย่างไร 
  4. ผลกระทบโดยรวมของบุหรี่ไฟฟ้า/ยาสูบชนิดใหม่ทั้งต่อผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่ 
  5. เป็นเรื่องยากในการรับมือกับการตลาดบุหรี่ไฟฟ้า/ยาสูบชนิดใหม่ๆ สำหรับประเทศที่การควบคุมยาสูบไม่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว 
  6. ยาสูบชนิดใหม่เบี่ยงเบนความสนใจจากการควบคุมยาสูบของประเทศตามที่กำหนดโดยอนุสัญญาควบคุมยาสูบ
  7. การควบคุมยาสูบชนิดใหม่ จะเบียดบังทรัพยากรที่มีน้อยอยู่แล้วจากการควบคุมยาสูบธรรมดา 
  8. จะเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทบุหรี่แทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบของรัฐบาล 
  9. สถานการณ์ในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับประเทศอังกฤษที่การระบาดของยาสูบเกือบอยู่ภายใต้การควบคุม มีความพร้อมในการควบคุมยาสูบชนิดใหม่ๆ
  10. ควรยึดนโยบายปลอดภัยไว้ก่อน  จนกว่าจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนถึงผลกระทบที่แท้จริงของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า/บุหรี่ชนิดใหม่ ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายที่เหมาะสม  รัฐบาลมีพันธะที่จะต้องป้องกันการระบาดของการเสพติดยาสูบชนิดใหม่