แก็สหุงต้มกับแนวโน้มราคาที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แก๊สหุงต้ม

ว่ากันด้วยเรื่องของสิ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรานั้น นอกจากไฟฟ้าและน้ำมันแล้ว… “แก๊สหุงต้ม” ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องใช้ไม่ว่าจะเป็นด้านของการะประกอบอาหาร การใช้เป็นพลังงานในระบบอุตสาหกรรมหรือใช้ในรถยนต์ที่ติดแก๊สก็มีด้วยเช่นกัน ซึ่งราคาของแก๊สหุงต้มนั้นก็มีการขึ้นลงไม่แตกต่างกับน้ำมันเหมือนกัน วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปสำรวจกับ “แก็สหุงต้มกับแนวโน้มราคาที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง” กันสักหน่อยครับ

แก๊สหุงต้มคืออะไร?

แก๊สหุงต้ม (LPG) คือ จัดเป็นเชื้อเพลิงอีกชนิดหนึ่งที่มาจากซากดึกดำบรรพ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันหรือการแยกแก๊สธรรมชาติ ในโรงแยกแก๊สธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด คือ โพรเพนและบิวเทนไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ปราศจากพิษ หนักกว่าอากาศ ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่ 2–15 % ของปริมาณในอากาศ และอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองคือ 400 องศาเซลเซียส

คุณสมบัติทั่วไปของแก๊สหุงต้ม LPG

เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด ให้การเผาไหม้ที่สะอาด ให้พลังงานความร้อนสูง โดยในสถานะที่เป็นไอ ก๊าซจะมีความหนาแน่นที่หนักกว่าอากาศ ไอก๊าซจะหนักประมาณ 2 เท่าของอากาศ ฉะนั้นเมื่อก๊าซรั่วจึงจะไหลไปรวมกันอยู่ ณ ที่ต่ำ จึงไม่ควรตั้งถังก๊าซไว้ในห้องใต้ดิน ใกล้หลุมบ่อหรือรางระบายน้ำและเมื่อมีสถานะที่เป็นของเหลว ก๊าซจะมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำประมาณครึ่งหนึ่ง เมื่อมีสภาพเป็นน้ำก๊าซ จึงลอยอยู่เหนือน้ำ ถ้าก๊าซรั่วลงไปใน คูคลอง หรือท่อน้ำ

มีจุดเดือดต่ำ มีจุดเดือดและกลายเป็นไอที่อุณหภูมิ ศูนย์องศาเซลเซียล ในเมืองไทยที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 กว่าองศาเซลเซียล ก๊าซจะกลายเป็นไอทันที ที่พ้นจากความดัน และจะดูดความร้อนจากบริเวณใกล้เคียง ทำให้บริเวณใกล้เคียงมีความเย็นจัด ดังนั้นถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายคนเราสัมผัสกับน้ำก๊าซ จะทำให้ร่างกายส่วนนั้นเย็นจัดถึงไหม้ได้โดยตัวแก๊สหุงต้มจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่เพื่อป้องกันอันตรายจากการรั่วไหลจึงต้องใส่สารเคมี Ethyl Mercaptanหรือ Thiophane ลงไปเพื่อให้มีกลิ่นฉุน

มีอัตราการขยายตัวสูง การเติมก๊าซลงในภาชนะ จึงไม่ควรเติมเต็ม ควรเติมประมาณ 85 %ของภาชนะ เพื่อให้มีช่องว่างไว้สำหรับขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน

แหล่งที่มาของแก๊สหุงต้ม

หลักๆ แล้ว สำหรับที่มาของแก๊สหุงต้มหรือ LPG ในประเทศไทยแก๊สหุงต้มส่วนใหญ่ได้จากการกลั่นน้ำมัน โดยใช้อัตราส่วนผสมของโพรเพน และบิวเทนประมาณ 70:30 ซึ่งจะให้ค่าความร้อนที่สูงนั้นเองครับ

ปัจจัยที่มีผลต่อราคาของแก๊สหุงต้มมีอะไรบ้าง?

สภาพเศรษฐกิจ เนื่องจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน เมื่อใดที่เศรษฐกิจเติบโต ความต้องการใช้น้ำมันและแก๊สจะสูงขึ้น ในทางกลับกันราคาน้ำมันและแก๊สปรับตัวลดลงเมื่อเศรษฐกิจไม่ขยายตัวหรือถดถอย ก็จะทำให้ราคาลดลงนั้นเอง

กำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันและโรงกลั่น(ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตแก๊สหุงต้มด้วย) ถ้าผู้ผลิตไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการก็จะส่งผลทำให้ราคาเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากความต้องการลดลงเหลือน้อยกว่ากำลังการผลิตที่สามารถผลิตได้ ก็จะทำให้ราคาปรับตัวลดลงเช่นกัน

ฤดูกาลกับสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาลส่งผลกับราคาน้ำมันและแก๊สต่างๆ ในตลาดโลก เมื่อฤดูเปลี่ยน อุปสงค์หรือความต้องการใช้ก็จะปรับเปลี่ยนตามไปด้วย เช่น ในฤดูหนาว ประเทศแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีความต้องการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเพิ่มขึ้นเพื่อทำความอบอุ่น (Heating Oil) เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นได้ เช่นเดียวกับแก๊สหุงต้มหากเป็นช่วงที่ต้องใช้มากก็จะส่งผลทำให้ราคาสูงเช่นกัน

พลังงานทดแทนและเทคโนโลยีการผลิตพลังงาน ในอนาคตหากการพัฒนาพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ ไฟฟ้า ไฮโดรเจน ฯลฯ สามารถผลิตได้เพียงพอต่อการใช้งานในราคาที่สามารถแข่งขันกับราคาน้ำมันและแก๊สหุงต้มได้ อาจส่งผลให้ความต้องการใช้แก๊สหุงต้มลดลง

ทำไมแนวโน้มของราคาแก๊สหุงต้มในประเทศไทยถึงมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อาจเป็นเพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแก๊สหุงต้ม นอกจากนั้นนี้ยังมีเรื่องของนโยบายของรัฐที่จะส่งเสริมหรือช่วยลดทอนค่าแก๊สหุงต้มก็ได้เช่นกัน อีกทั้งเรื่องของเศรษฐกิจของประเทศก็ย่อมเป็นอีกปัจจัยหลักๆ ที่จะส่งผลให้ราคาแก๊งหุงต้มขึ้นหรือลงด้วยเช่นกันครับ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “แก็สหุงต้มกับแนวโน้มราคาที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในข้างต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกันนะครับ